ประจำวัน พุธ ที่ ๖ เดือน มิถุนายน ๒๕๕๕
ทำไมต้องเรียนภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย
เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข
และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์
วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี
และสุนทรียภาพ
เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้
อนุรักษ์
และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง
· การอ่าน การอ่านออกเสียงคำ ประโยค
การอ่านบทร้อยแก้ว
คำประพันธ์ ชนิดต่างๆ การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ จากสิ่งที่อ่าน เพื่อนำไป
ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
· การเขียน การเขียนสะกดตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสาร โดยใช้ถ้อยคำและ รูปแบบต่างๆ ของการเขียน ซึ่งรวมถึงการเขียนเรียงความ ย่อความ
รายงานชนิดต่างๆ การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์
และเขียนเชิงสร้างสรรค์
· การฟัง การดู
และการพูด การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ การพูดแสดงความ
คิดเห็น ความรู้สึก พูดลำดับเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล การพูดในโอกาสต่างๆ
ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
·
หลักการใช้ภาษาไทย ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษาให้
ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และอิทธิพล
ของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
·
วรรณคดีและวรรณกรรม วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล
แนวความคิด
คุณค่าของงานประพันธ์ และความเพลิดเพลิน การเรียนรู้และทำความ
เข้าใจบทเห่
บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทย ซึ่งได้
ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม
ขนบธรรมเนียมประเพณี
เรื่องราวของสังคมในอดีต
และความงดงามของภาษา เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจ ในบรรพบุรุษที่ได้สั่งสม
สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น